วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

การยันทึกผลการถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษษต่างประเทศ กิจกรรมการอ่านและการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้
กระบวนการและขั้นตอนการสอนอ่านและเขียน
1. ครูทำความเข้าใจวงจรการเรียนรู้ของสมอง  วงจรรับรู้ด้วยภาพ  ด้วยเสียง  วงจรการรับรู้การเคลื่อนไหวท่าทาง จังหวะ
2.คัดเลือกหนังสือที่สอนมาเป็นสื่อ จัดลำดับขั้นตอนการใช้หนังสือ ครูวิเคราะห์หนังสือที่เลือกว่าจะใช้กิจกรรมอะไร เตรียมอุปกรณ์เสริม เอกสารการประเมินการอ่านและเขียน
กิจกรรมการอ่านให้ฟัง
เป็นหนังสือที่ครูเลือกหรือเป็นหนังสือที่นักเรียนสนใจอยากฟัง นักเรียนจะฟังครูอ่านที่มุมอ่าน(สอดคล้องกับหลัก  BBL  สมองรับรู้ภาพและเสียงพร้อมกับเพิ่มระดับสารเคมีในสมอง จิรตนาการสิ่งที่เห็นและได้ยิน
ฟังอย่างมีสมาธิ  มีความสุข  ไดเรียนรู้สิ่งที่สนใจ )
กิจกรรมอ่าน 2 คน
1. เป็นกิจกรรมที่จะนำไปสู่การเขียน เป็นกิจกรรมที่พัฒนาการอ่านของนักเรียน ที่อ่านคล่องมีความมั่นใจมากขึ้น
2. นักเรียน 2คนช่วยกันอ่านเรื่องเดียวกัน พากันอ่านให้คล่องภายใน  20 นาที
3.นักเรียนร่วมกันทำใบงาน /  แบบฝึก  การเขียนเรื่องที่มีความหมาย
4. นักเรียนแต่ละคนอ่านหนังสือให้ครูฟัง หรืออ่านให้เพื่อนฟัง
5. ครูให้กำลังใจเป็นรางวัล
( สอดคล้องกับหลัก  BBL  การฝึกซ้ำย้ำทบทวนมีความถี่ ใยประสาทจะเชื่อมค่อกัน เซลล็สมอง ไมอิลิน จะมีความแข็งแรงหนาแน่น ข้อมูลที่สมองได้รับจะเป็นอัตนมัติ เป็นความจำที่คงทน   การเขียน  การพูด เป็นการฝึกเรียบเรียงการคิด เป็นการเชื่อมโยงวงจรในสมอง ที่ได้จากการอ่านการฟัง เข้าด้วยกัน  การแสดงศักยภาพและความสำเร็จ สมองจะทำงานทั้งสองส่วนเนื่องจากทำได้ ทำง่าย ทำสำเร็จ  มีรางวัล )
กิจกรรมการอ่านเอง
เป็นกิจกรรมที่พัฒนามาจากการอ่านด้วยกัน  2 คน มีกิจกรรมดังนี้
1.นักเรียนอ่านคล่องและสามารถอ่านเองได้
2. นักเรียนอ่านหนังสือในใจได้เอง
3.ครูให้นักเรียนยืมหนังสือไปอ่านที่บ้าน โดยครูเลือกให้
4.นักเรียนหาหนังสือมาให้ครูอ่านให้ฟังในเวลาพัก หรือในชั่วโมงภาษาอังกฤษ หลังจากเสร็จกิจกรรม
( สอดคล้องกับหลัก  BBL  การอ่านดังๆ เป็นการแสดงออกทุกด้านเกี่ยวกับภาษาในสมองออกมา
ความเงียบทำให้เกิดสมาธิ ตาอ่านข้อความเกิดการรับรู้ สมองจะสร้างจินตนาการไปตามข้อความนั้น
การอ่านในสิ่งที่ควรอ่านเป็นกระบวน BBL )
กิจกรรมการอ่านให้ฟังของนักเรียนกลุ่มใหญ่
1. นักเรียนนั่งล้อมวงกลมหน้าห้องเพือให้ทุกคนได้อ่าน
2. นักเรียนอ่านหนังสือพร้อมๆกันเกิดความสนุกสนาน ครูเดินดู  เพื่อแก้ปัญหา
3. อ่านพร้อมกันเป็นการช่วยพัฒนานักเรียนที่ยังอ่านไม่ได้ หรืออ่านไม่คล่องให้มีพัมนาการอ่านที่ดี แล้วเมื่อทำได้ก็จะนำไปสู่กิจกรรมการเขียนได้ดี
( สอดคล้องกับหลัก  BBL  นักเรียนอ่านอย่างมีความสุข  การอ่านออกเสียงเป็นการแสดงออกทุกด้านเกี่ยวกับภาษาที่มีอยู่ในสมองออกมา  ความทรงจำที่สนุกสนาน เป็นความทรงจำที่ชัด )

                                                               ครูหมวย